ดูบทความโรคกรดไหลย้อน อาการไม่มาก รักษาได้

โรคกรดไหลย้อน อาการไม่มาก รักษาได้

โรคกรดไหลย้อน  
     พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ หลายท่านมาถกเถียงว่า ไม่ได้เป็นโรคกรดไหลย้อน แต่เป็นโรคกระเพาะ โรคลำไส้แปรปรวน โรคท้องผูก บ้างก็บอกว่าเป็นโรคหัวใจ โรคเครียด จึงได้มีโอกาสได้อธิบายเรื่องโรคกรดไหลย้อนในวันหนึ่งหลายๆ รอบ

สาเหตุโรคกรดไหลย้อน
  • ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว
  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง


อาการโรคกรดไหลย้อน

  • อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย
  • มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก
  • ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
  • เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมออกบ่อยๆ 
  • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ
  • ในเด็กเล็ก อาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หืดหอบในเวลากลางคืน ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ
 กรดไหลย้อนหมอเส็ง


การปฏิบัติตัว
     ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่มาก สามารถรักษาได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้

  • ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรืออ้วนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป
  • ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง
  • ปรับหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด

พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ
     สำหรับผู้ที่มีปัญหากับระบบย่อยอาหารไม่ว่าระยะใดก็ตาม คือ
ลดการทานน้ำเย็น น้ำอัดลม นม ชาเย็น ชาเขียว น้ำเต้าหู้ น้ำมะพร้าว ให้ได้มากที่สุด งดการทานอาหารมื้อดึก งดการทานกาแฟเพราะทำให้น้ำย่อยของเราออกมาไม่ตรงเวลา งดการทานยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะเป็นเวลานาน เพราะทำให้น้ำย่อยของเราขาดประสิทธิภาพ
     หันมาทานอาหารสดใหม่ เช่น ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว เคี้ยวอาหารให้นานขึ้น  เนื่องจากการเคี้ยวสัมพันธ์กับการบีบตัวของกระเพาะอาหารของเรา เมื่อกระบวนการย่อยดี ลมใหม่ๆ ไม่เกิด ลมและอุจจาระเก่าๆ หายไป โรคกรดไหลย้อนจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด


ที่มา. bumrungra
ที่มา. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ภาพ. หมอเส็งแบงค็อก

แนะนำผลิตภัณฑ์ ยาธาตุน้ำ ตราหมอเส็ง
เป็นยาแก้ลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง เป็นกรดไหลย้อน มีลมจุกที่ลำคอ
 

 

15 ธันวาคม 2560

ผู้ชม 10047 ครั้ง